เก้าอี้
เก้าอี้ ทำงาน
เก้าอี้ ทำงาน เพราะชั่วโมงการทำงานในแต่ละวัน ยาวนานถึง 8 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ดังนั้นการเลือกเก้าอี้จึงมีส่วนสำคัญมาก รวมถึงการหาอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เข้ามาช่วยเพื่อให้การนั่งทำงานถูกสรีระย่อมช่วยให้ห่างไกลจากอาการปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ และปัญหาเกี่ยวกับกระดูกต่าง ๆ
ปัจจุบันมนุษย์ออฟฟิศหลายๆ คน ใช้เวลาทั้งวันไปกับการนั่งทำงานมากกว่ายืนเสียด้วยซ้ำ ไม่เชื่อคุณลองนับเล่นๆได้เลยว่า วันนี้ยืนทำงานไปกี่ชม. และนั่งทำงานกี่ชม. จึงไม่แปลกที่ร่างกายจะส่งสัญญาณเตือนความผิดปกติ เช่น ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดบ่า หรือรู้สึกอ่อนล้า ถ้าใครที่เริ่มมีอาการเหล่านี้ล่ะก็ คุณอาจได้ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ ก็คือโรค ‘ออฟฟิศซินโดรม’ นั่นเอง
‘ออฟฟิศซินโดรม’ พบได้บ่อยในคนวัยทำงานโดยเฉพาะกลุ่มคนที่ทำงานในสำนักงานที่มีพฤติกรรมนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน และเพ่งจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันนาน 1 ชั่วโมง ซึ่งผลวิจัยบอกว่าคนที่ทำงานออฟฟิศ 1 ใน 10 คน ป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม ซึ่งคุณจะเห็นได้ว่าโรคนี้เกิดจากการนั่งเป็นเวลานาน ท่านั่งที่ไม่ถูกวิธี ดังนั้นคุณจะรู้ได้ทันทีเลยว่าหากคุณนั่งทำงานด้วยท่าที่ถูกต้อง และมีเก้าอี้ที่ถูกกับสรีระของเรา หรือที่เรียกกันว่า ‘ergonomics chair’ คุณจะห่างไกลจากโรคนี้อย่างแน่นอน
เทคนิคง่ายๆ การเลือก เก้าอี้นั่งทำงาน ที่ช่วยดูแลสุขภาพได้ดังนี้
- ดูความสูงเก้าอี้ ทำงาน ต้องเท่ากับช่วงยาวขาท่อนล่างบริเวณน่อง ตั้งแต่ข้อพับหลังเข่าไปถึงเท้า วางเท้าแล้วราบกับพื้นพอดี
- เบาะต้องไม่นุ่มหรือเป็นแอ่ง เพราะส่งผลให้กระดูกเชิงกรานบิดงอได้
- ความลึกของเบาะต้องไม่มากกว่าช่วงต้นขา เพื่อให้นั่งทำงานได้สบาย
- พนักพิงต้องพอดีกับแผ่นหลัง นั่งให้ก้นชิดกับพนัก เพราะการพิงไม่ถึงและเอนตัวไปด้านหลังจะทำให้หลังงอ
- ที่เท้าแขนอยู่ในระดับพอดี คืองอข้อศอกแล้ววางแขนได้พอดี เพื่อใช้ดันให้ตัวยึดตรงและค้ำพยุงตัวเวลาลุกนั่งได้
- ปรับระดับได้ ทั้งความสูง-ต่ำของเบาะ การเอนไปด้านหลัง ความสูงต่ำของที่พักแขน เอียงเข้าหรือออก
หมอนเสริมตัวช่วยคนทำงาน
หลายคนอาจไม่สามารถเลือก เก้าอี้นั่งทำงาน ได้หรือเลือกแล้วไม่พอดีกับ สรีระ หมอนเสริมสามารถช่วยได้ในกรณีต่าง ๆ ได้แก่
– เก้าอี้ปรับไม่ได้ หากเบาะลึกเกินไปให้ใช้หมอนหนุนเพิ่มที่ด้านหลังกันและหลัง
– พนักพิงไม่พอดีกับสรีระ สามารถใช้หมอนหนุนเพื่อรองรับความหนาตามที่ต้องการ
ที่วางพักเท้าช่วยรับน้ำหนัก
ในกรณีที่ต้องปรับเก้าอี้ให้สูงพอเหมาะกับโต๊ะอาจส่งผลให้เท้าลอยจากพื้น ควรมีที่พักเท้าเพื่อรองใต้เท้าไม่ให้เท้าลอย เหมือนนั่งห้อยขา โดยที่วางพักเท้าช่วยรับน้ำหนักไว้ เพื่อให้ช่วงเข่าและเท้าผ่อนคลาย ไม่ปวดเมื่อยจากการรับน้ำหนักขา
เคล็ดลับ ท่านั่งเก้าอี้ที่ดีคือ หลังพิงพนัก วางสะโพกและต้นขาบนที่นั่งทั้งหมด ฝ่าเท้าวางราบบนพื้นมีที่พักแขนรองรับแขนทั้งสองข้าง และไม่ควรเอนพนักพิงเกิน 100 องศา
อันดับแรก สิ่งที่เราเน้นย้ำและบอกทุกคนอยู่เสมอ คือร่างกายของเราสัมผัสเก้าอี้ถึง 80% เก้าอี้จึงแทบจะเป็นส่วนหนึ่งของเรา ดังนั้นการมีเก้าอี้งานดีๆ สักหนึ่งตัว คุณจะวางใจได้ในระดับหนึ่งว่าสุขภาพของคุณได้รับการดูแลอย่างแน่นอน แต่ด้วยราคาเก้าอี้ในปัจจุบันที่มีตั้งแต่ ราคาถูกไปจนถึงราคาสูงมาก หลายคนอาจจะเลือกไม่ถูก! เราอยากให้คุณเริ่มจากลองนั่งเก้าอี้ที่คุณชอบก่อน แต่อย่าลืมว่าชอบและต้องใช่ด้วย! ใช่ในที่นี้คือ เก้าอี้ต้องสามารถปรับระดับความสูงได้ เพราะหากเก้าอี้ไม่สามารถปรับอะไรได้เลย โอกาสที่มันจะถูกกับสรีระของคุณก็เป็นไปได้ยาก ดังนั้นถ้าเก้าอี้ตัวไหนปรับไม่ได้ ข้ามได้เลยครับ
นอกจากเรื่องความสูง ยังมีเรื่องของการปรับในส่วนอื่น ๆ ของเก้าอี้ เช่น การปรับ seat slide หรือการปรับช่วงขาช่วงบนเข่าจนถึงสะโพก เพื่อดูว่าช่วงขาเรายาวแค่ไหน และการปรับพนักพิงหลัง ที่เรียกกันว่า lumba support (ตัวรองรับตรงกระดูกตรงบั้นเอว) อันนี้มันสามารถที่จะต้องปรับได้ด้วย เพราะช่วงเอวแต่ละคนก็มีความสูงต่ำไม่เท่ากัน ดังนั้นส่วนนี้จึงสำคัญไม่แพ้ส่วนอื่นๆ ของเก้าอี้
ต่อด้วยเรื่องของไซส์เก้าอี้ บางเก้าอี้สามารถปรับได้ทุกอย่าง แต่ขนาดเก้าอี้กลับใหญ่มาก คนตัวเล็กจึงนั่งแล้วรู้สึกไม่สบาย ยกตัวอย่างง่ายๆ ให้ชาวต่างชาติมานั่งเก้าอี้คนเอเชีย เขาอาจจะรู้สึกว่ามันแน่นเกินไป
เพราะฉะนั้นจะรู้ได้ไงว่ามันถูกกับสรีระเราไหม คุณต้องลองเท่านั้น การที่เราจะไปลองนั่งนั้น แนะนำว่าให้หาผู้เชี่ยวชาญของแบรนด์นั้น ๆ มาลองปรับ มาแนะนำเราให้ครบว่าเก้าอี้ตัวนี้มันดีอย่างไร ปรับอะไรยังไงได้บ้าง แต่ว่าหลักการง่าย ๆ ที่เราจะไปลองคือ นั่งแล้วถอยก้นไปให้สุดเบาะ เป็นสิ่งแรก แล้วค่อยลองพิงดูว่าตรงบั้นเอวเรารู้สึกสบายดีไหม นี่คือเคล็ดลับสำคัญที่จะช่วยให้คุณเลือกเก้าอี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น
เลือก เก้าอี้ ทั้งที ต้องดีต่อร่างกาย
ก่อนจะเลือกเก้าอี้ อย่าลืมสำรวจตัวเองก่อน ว่าเราเป็นคนประเภทไหน เป็นคนมีน้ำหนักตัวมาก ขายาว ขาสั้น พอรู้ลักษณะของเราแล้ว ก็ลองไปหาเก้าอี้ที่มันปรับ feature ที่มันสอดคล้องกันได้ และในส่วนของวัสดุเมื่อเจอเก้าอี้ที่ใช่แล้ว เราสามารถเปลี่ยนวัสดุที่หุ้มได้ บางคนชอบไวนิล บางคนชอบแบบหนัง ก็สามารถเลือกตามความเหมาะสม แต่สำหรับคนที่นั่งทำงานนานๆ ควรเลือกวัสดุเบาะที่เป็นผ้า หรือเป็นตาข่าย จะช่วยให้ระบายความร้อนได้ดี เพราะบางคนนั่งทำงานนานๆ แล้วเหงื่อมักจะออกง่ายนั่นเอง
ในส่วนของท่านั่งขาทั้งสองต้องตั้งฉากกับพื้นพอดี โดยที่ปลายทางต้องไม่ห้อยลงพื้น เพราะว่าเลือดจะไหลลงมากอง เพราะฉะนั้นถ้าเป็นผู้หญิง ต่อให้นั่งเก้าอี้ที่เหมาะสม แต่ใส่ส้นสูงนั่งตลอดเวลา อันนี้ก็ไม่แนะนำเหมือนกัน เพราะเลือดจะไหลมากองที่เท้า ถ้าใส่ส้นสูงแนะนำให้ถอดรองเท้าออก แล้วเปลี่ยนเป็นรองเท้าสบาย ๆ เพื่อช่วยในการผ่อนคลายเวลาทำงาน
Showing 1–16 of 141 results
-
ลดราคา!
เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้สำนักงาน รุ่น OC-201
฿1,990.00 หยิบใส่ตะกร้าขอใบเสนอราคา -
ลดราคา!
เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้สำนักงาน รุ่น CHOGUN/CL
฿4,700.00 เลือกรูปแบบ -
ลดราคา!
เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้สำนักงาน รุ่น CHOGUN (โชกุน)
฿4,390.00 หยิบใส่ตะกร้าขอใบเสนอราคา -
ลดราคา!
เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้สำนักงาน รุ่น OC-301
฿2,190.00 หยิบใส่ตะกร้าขอใบเสนอราคา -
ลดราคา!
เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้สำนักงาน รุ่น OC-202
฿2,090.00 หยิบใส่ตะกร้าขอใบเสนอราคา -
ลดราคา!
เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้สำนักงาน รุ่น OC-302
฿2,290.00 หยิบใส่ตะกร้าขอใบเสนอราคา -
ลดราคา!
เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้สำนักงาน รุ่น OC-203
฿2,490.00 อ่านเพิ่ม -
ลดราคา!
เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้สำนักงาน รุ่น OC-303
฿2,690.00 อ่านเพิ่ม -
เก้าอี้สำนักงานสุขภาพ รุ่น IC-06H
฿6,990.00 หยิบใส่ตะกร้าขอใบเสนอราคา -
ลดราคา!
เก้าอี้สำนักงานสุขภาพ รุ่น IC-05H
฿4,990.00 หยิบใส่ตะกร้าขอใบเสนอราคา -
ลดราคา!
เก้าอี้สำนักงานสุขภาพ รุ่น IC-02H (GEN III)
฿5,090.00 อ่านเพิ่ม -
เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้สำนักงาน ICONIC รุ่น 160GA
฿2,290.00 เลือกรูปแบบ -
เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้สำนักงาน ICONIC รุ่น 160GC
฿2,750.00 เลือกรูปแบบ -
เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้สำนักงาน ICONIC รุ่น 507
฿2,850.00 เลือกรูปแบบ -
ลดราคา!
เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้ผู้บริหาร รุ่น PC-601
฿4,400.00 อ่านเพิ่ม -
เก้าอี้ทำงาน เก้าอี้สำนักงาน รุ่น CEX-08
฿4,790.00 เลือกรูปแบบ